ตู้เขี่ยเชื้อเห็ด

ตู้เขี่ยเชื้อเห็ด-กล้วยไม้(กระดาษ)
ตู้เขี่ยเชื้อเห็ด


ตู้เขี่ยเชื้อนับว่ามีความจำเป็นระดับต้นๆ ของผู้ที่ทำอาชีพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เช่น เห็ด กล้วยไม้

การออกแบบตู้เขี่ยเชื้อเห็ด
เริ่มจากแนวคิดที่ว่า การเขี่ยเชื้อต้องอยู่ในที่ที่ปลอดเชื้อ โดยใช้ยูวี (Ultraviolet Type C หรือตัวย่อ UVC) มีช่วงความยาวคลื่นประมาณ 100-280 nm(นาโนเมตร) เป็นอุปกรณ์ในการฆ่าเชื้อโรคในอากาศ ภายในตู้

 ฉะนั้นหัวใจในการออกแบบคือ อากาศภายในตู้ต้องปลอดเชื้อ ลักษณะของโครงสร้างภายนอกเป็นตัวป้องกัน และกักอากาศไว้  เพื่อให้อากาศสัมผัสกับ แสงยูวีมากที่สุด  การออกแบบให้ตู้เขี่ยเชื้อเอียง(อย่างตู้เขี่ยเชื้อทั่วไป)  ไม่ใช่เป็นสิ่งจำเป็นในการฆ่าเชื้อโรค  แต่เพียงเพื่อความสะดวกในการทำงานเท่านั้น

ทำตู้เขี่ยเชื้อเห็ดใช้เอง(กล่องกระดาษ)  ตู้เขี่ยเชื้อเห็ด(กระดาษ)ได้เกิดขึ้นครั้งแรกโดย อาจารย์ทวียศ ศรีสกุลเมฆี ศูนย์เรียนรู้บ้านเห็ด(บ้านเห็ด) เห็นว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่คนที่เรียนเพาะเห็ด จะสามารถนำความรู้ในเรื่องการเขี่ยเชื้อเห็ดไปใช้ได้ เพราะตู้เขี่ยเชื้อ หรือห้องปลอดเชื้อในปัจุบันราคาสูงมาก  จึงได้คิดออกแบบตู้เขี่ยเชื้อทำด้วยกระดาษขึ้นใช้ ครั้งแรกในต้นปี พ.ศ 2556


อ.ทวียศ ศรีสกุลเมฆี วิศวะกร ที่ชอบเกษตร และขอทำเกษตรในแนววิศวะ


ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ ทำด้วยกระดาษลูกฟูก(กล่องกระดาษแข็ง)  รูป4เหลี่ยม เจาะรูใส่กระจกและมีฝาเปิดพอให้มือสามารถมุดเข้าไปทำงานได้ ติดตั้งหลอด ยูวี ฆ่าเชื้อโรค และหลอดนีออน ให้แสงสว่าง  มีการระบายอากาศร้อนแบบธรรมชาติ

ข้อดีของตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ     
  1. ราคาถูก สามารถทำใช้เองได้
  2. ใช้ในงานสนามได้ดี ประกอบง่าย น้ำหนักเบา
  3. เคลื่อย้ายได้ง่าย
(YouTube) แนะวิธีทำตู้เขี่ยเชื้อกระดาษใช้เอง




นวัตกรรมใหม่ของวงการเห็ด "ตู้เขี่ยเชื้อเห็ด(กระดาษ)"


เหมาะใช้สอนในศูนย์เรียนรู้ เห็ด
ปัจจุบันตู้เขี่ยเชื้อ(กระดาษ) เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างของผู้ที่ทำอาชีพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อเห็ด-กล้วยไม้เป็นอย่างมาก  เราได้มีการออกแบบและปรับปรุงตู้เขี่ยเชื้อกระดาษออกมาหลายรุ่น จนถึงรุ่นปัจุบันได้มีการออกแบบร่วมกับโรงงานผลิดกล่องกระดาษที่ได้มาตรฐาน  มีการพับ เจาะรู้และตัด โดยเครื้องมืออันทันสมัย ตู้เขี่ยเชื้อ(กระดาษ)รุ่นปัจจุบัน จึงเป็นรุ่นที่สมบูรณ์ที่สุด

วัสดุ/อุปกรณ์

  1. กระดาษกล่องลูกฟูก หนา5ชั้นอย่างดี
  2. การพับและประกอบ  โดยใช้วิธีการออกแบบกล่องกระดาษรับน้ำหนัก
    สะดวกพร้อมใช้งาน
  3. การเจาะช่องและรูได้มาตรฐานเดียวกันทุกตู้
  4. มีจุดยึด Lock 4จุด
  5. ติดระบบระบายความร้อนในตู้  โดยพัดลมดูดอากาศทั้งนี้ไม่ส่งผลให้อากาศภายนอกเข้ามาทำให้อากาศภายในตู้ไม่สะอาด
  6. ติดตั้งยูวี ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ แบบ C หรือ UVC ขนาด10W
  7. มีหลอดไฟนีออนขนาด 10W




ตู้เขี่ยเชื้อ(กระดาษ)รุ่นใหม่




คู่มือการใช้ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ


การประกอบตู้เขี่ยเขื้อกระดาษ




ขั้นตอนที่ 1. ใส่หลอดยูวี หรือ UVC(หลอดใส) ลงบนขาหลอดล่างสุด ส่วนบนใส่หลอดนีออน(หลอดสีขาว)
ขั้นตอนที่2. ประกอบกล่อง ปิดฝาล็อกให้เรียบร้อยทั้ง 4จุด

รูปขยายการเปิดช่องสำหรับสอดมือ









ขั้นตอนที่3. ปิดช่องสำหรับสอดมือเข้าทำงานในตู้ให้สนิท จากนั้นเสียบปลั๊กไป และเปิดไฟ ( UV)ให้สว่าง อบทิ้งไว้10-30นาที

หมายเหตุ  ขนะใช้งานให้ปิดไฟ UV และเปิดไฟนีออนเท่านั้น





การเตรียมตู้เขี่ยเชื้อกระดาษให้พร้อมทำงาน
เทคนิคที่ต้องรู้ คือแสงยูวี(UVC)ใช้ฆ่าเชื้อโรคอากาศภายในตู้ได้(ความจริงเชื้อโรคตายเพราะความถี่ของยูวี) ถ้าแสงไปถึงทีใดก็จะฆ่าเชื้อโรคได้

  1. ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษใช้ไฟฟ้า 220 VAC(ไฟฟ้าในบ้านทั่วไป)
  2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเขี่ยเชื้อควรอบพร้อมตู้ ยกเว้นเชื้อที่จะทำการเขี่ย 
  3. ควรปิดตู้และอบตู้ที้งไว้อย่างน้อย 10-30นาทีก่อนใช้งาน ไม่ต้องพ่น แอลกอฮอร์ในตู้ เพราะไม่ช่วยในการฆ่าเชื้อโรคเลย 
  4. เสื่อน้ำมันควรเช็ดด้วย แอลกอฮอร์ 75-80 % และอบยูวีพร้อมตู้เขี่ยเชื้อ
  5. ปืดหลอดยูวี ทุกครั้งขนะทำงาน
  6. เปิดหลอดนีออน ให้แสงภายในตู้เขี่ยเชื้อ และพัดลมเล็กจะเริ่มทำงานพร้อมเปิดหลอดนีออน
  7. ความร้อนที่สะสมไว้ขณะทำงาน ซึ่งเกิดจากตะเกียงแอลกอฮอร์ จะไปรวมกันที่ที่ฝาบนของตู้เขี่ยเชื้อ และจะระบายออกโดยพัดลมเล็ก
  8. กรณีใช้ตู้เขี่ยเชื้อทำงานในสนาม ต้องใช้หินทับที่ขาตู้ไว้กันปลิวจากลม
การใช้งานตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ
  • ไม่ควรทำงานติดต่อกันนานไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง  หลังจากนั้นควรปิดตู้อบยูวีอีกครั้ง 10-30นาที เพื่อให้อากาศภายในตู้ได้ถูกฆ่าเชื้อทั้งหมด
  • ตู้เขียเชื้อกระดาษห้ามโดนน้ำเด็ดขาด
  • ควรเขี่ยเชื้อตอนเช้าเพราะเสื้อผ้า และร่างกายผู้ทำงานสะอาดที่สุด
  • เครื่องมือต้องนึ่ง หรือ ต้มในอุณหภูมิ100 C (น้ำเดือด) และจับเวลาต่อไปอีก30นาที กรณีไม่มีหม้อนึ่งเครื่องมือแบบแรงดัน  ถ้ามีหม้อนึ่งแบบแรงดันทำตามคำแนะนำของสินค้านั้นๆ
เอกสารคู่มือการใช้ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษผ่าน SMART PHONE



QR Code เริ่มเป็นส่วนหนึ่งของโทรศัพย์มือถือทุกรุ่นในปัจจุบัน  ศูนย์เรียนรู้บ้านเห็ดเห็นความสำคัญและความสะดวกโดยทำ QR Code ไว้ที่หน้าตู้เขี่ยเชื้อกระดาษทุกตู้ เพื่อให้ผู้ที่จะใช้ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ สามารถดูคู่มือของตู้เขี่ยเชื้อกระดาษได้ทุกที่ทุกเวลา เพียงให้โทรศัพย์ของท่านอ่าน รหัส QR Code ด้านหน้าเท่านั้น





วิธีใช้งาน






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น